Youtube (ยูทูป) ได้เตรียมปล่อยความสามารถใหม่สำหรับผู้ใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Android แล้ว ที่ก็คือการเปิดให้สามารถซูมเข้า (Zoom In) ภายในวิดีโอได้ด้วย (8 ส.ค. 2565) ถือว่าเป็นปกติก็ว่าได้กับการเพิ่มเติมความสามารถ/คุณสมบัติใหม่ ๆ ให้แก่แพลตฟอร์มของ Youtube (ยูทูป) โดยในที่นี่นั้นก็คือการเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถทำการซูมเข้า (Zoom In) ภายในวิดีโอได้ด้วย สำหรับผู้ใช้งานอุปกรณ์ในระบบ Android
โดยความสามารถ Zoom In นั้น
จะต่างจากระบบการความสามารถในการขยายหน้าจอที่ปล่อยให้ใช้งานอย่างกว้างขวาง ซึ่งมันนั้นจะเป็นการเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถขยายตัวภาพภายในวิดีโอลงเสียมากกว่า ความสามารถดังกล่าวจะเปิดให้ทดลองใช้งานในช่วงแรกภายในวันที่ 1 กันยายน 2565 สำหรับผู้ใช้งาน Youtube บนระบบปฏิบัติการ Android ผ่านทางสิทธิประโยชน์ของ Premium ภายหน้าเมนูบัญชีผู้ใช้งาน ในส่วนของการปล่อยให้เป็นความสามารถทั่วไปอย่างเป็นทางการนั้น ก็ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้แต่อย่างใด
Facebook (เฟซบุ๊ก) ได้ประกาศถึงการเตรียมปิดบริการ Live Shopping ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และให้บริการ Reels มากขึ้น (4 ส.ค. 2565) Facebook (เฟซบุ๊ก) ภาคส่วนหนึ่งของ Meta ได้ประกาศผ่าน Blog ของบริษัท ในการปิดให้บริการ Live Shopping นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยเป็นการดำเนินการเพื่อที่จะให้ความสำคัญในด้านการพัฒนา และให้บริการ Reels มากขึ้น
ทำให้หมายความว่านับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ผู้ใช้งานจะไม่สามารถทำการ Livestream แล้วสร้างรายการสินค้า หรือแท็กสินค้าภายในวิดีโอ Facebook Live ของตนเองได้อีกต่อไป ทั้งนี้แล้วนั้น ผู้ใช้งานจะยังคงสามารถทำการ Livestream ได้ตามปกติ Facebook ได้เหตุผลในการปรับแนวทางว่า ในเวลานี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเริ่มให้ความสนใจกับวิดีโอแบบสั้น (short-form video) มากขึ้น ทำให้เราได้หันไปให้ความสำคัญกับ Reels สำหรับ Facebook และ Instagram
โดย Reels นั้น ก็เปิดให้สามารถใช้งานแบบเชิงโฆษณา (Reels Ads) ได้ อีกทั้งผู้ใช้งานสามารถที่จะแท็กสินค้าลงบน Reels สำหรับ Instagram ได้ด้วย สำหรับผู้ที่ต้องเก็บรักษาวิดีโอ Live ก่อนหน้านี้ ก็สามารถทำการดาวน์โหลดได้บนหน้าเพจของตัวเอง หรือบน Creator Studio
แอมเนสตี้ เตือน พบ ‘สปายแวร์เพกาซัส’ ในมือถือของผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาล
แอมเนสตี้ ประเทศไทย ออกจดหมายเตือนถึงการค้นพบ สปายแวร์เพกาซัส ภายในมือถือ-สมาร์ทโฟนของผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงรัฐบาลไทย
(18 ก.ค. 2565) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในวันนี้ว่า ประเทศไทยต้องสอบสวนอย่างรอบด้านต่อการใช้ “สปายแวร์เพกาซัส” ที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว เนื่องจากพบว่ามีสปายแวร์รูปแบบนี้ถูกติดตั้งอยู่ในโทรศัพท์ของนักกิจกรรมหลายสิบคน หลังจากมีการรายงานชิ้นใหม่พบว่าบุคคล 30 คนตกเป็นเป้าหมาย หรือได้รับผลกระทบจากซอฟต์แวร์ที่อันตรายนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการยืนยันเป็นครั้งแรกว่ามีการใช้สปายแวร์นี้ในประเทศ จากการวิเคราะห์ในเชิงเทคนิค
รายงานที่จัดทำร่วมกันระหว่างโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) Digital Reach และ Citizen Lab ได้พบการใช้สปายแวร์นี้ตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2564 และส่งผลกระทบต่อแกนนำคนสำคัญของการชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งนักวิชาการและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนซึ่งได้วิจารณ์รัฐบาลไทยอย่างเปิดเผย
การค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากบริษัทแอปเปิลได้ส่งข้อความเตือนนักกิจกรรมชาวไทยจำนวนมากว่า พวกเขาตกเป็นเป้าหมายของสปายแวร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยแผนก Security Lab ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สามารถยืนยันอย่างเป็นอิสระในรายงานนี้ได้ว่า จากการวิเคราะห์ทางนิติเวช มีการพบสปายแวร์นี้ในห้ากรณี
เอเทียน เมเนียร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า ปัจจุบันเราได้เพิ่มประเทศไทยเข้าไปในรายชื่อประเทศที่มีการสอดแนมประชาชน ซึ่งจำนวนรายชื่อของประเทศต่างๆ ยังคงมีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การที่ประชาชนออกมาเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงโดยสงบ แสดงความเห็น และวิจารณ์นโยบายของรัฐบาล อาจส่งผลให้เกิดการสอดแนมที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสรีภาพด้านการแสดงออก ความเป็นส่วนตัว และความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของบุคคล
“เราควรระลึกด้วยว่า ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อค้นพบเบื้องต้น แต่ขอบเขตความพยายามสอดแนมข้อมูลอาจกว้างขวางและส่งผลกระทบรุนแรงมากกว่านี้”
ตามข้อมูลในรายงาน มีการตรวจพบสปายแวร์เพกาซัสในโทรศัพท์ของแกนนำผู้ชุมนุมประท้วงในไทย รวมไปถึงอานนท์ นำภา เบนจา อะปัญ และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ “รุ้ง” ซึ่งตกเป็นเป้าหมายการดำเนินคดีอาญาที่ไม่เหมาะสมในหลายข้อหา อันเป็นผลมาจากการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ
“แทนที่จะรับฟังและร่วมมือกับผู้ชุมนุมประท้วง นักวิชาการ และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ พวกเขากลับใช้การสอดแนมที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวเพื่อคุกคาม ข่มขู่ โจมตี และเพื่อทำลายขวัญกำลังใจ รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศที่น่าหวาดกลัวในสังคม ข้อค้นพบใหม่ครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่น่าตกใจว่า ทางการสามารถใช้วิธีการอันมิชอบมากเพียงใดเพื่อควบคุมการแสดงความเห็นต่างโดยสงบ”
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป